วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Dlna คืออะไร

 DLNA คืออะไร ?

อุปกรณ์ที่ได้รับการรับรองจาก Digital Living Network Alliance หรือ DLNA จะอนุญาตให้ท่านทำการแบ่งปันคอนเทนท์ระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ รอบๆ บ้านของท่านผ่านทางเครือข่าย Wi-Fiของท่านในบ้าน. ตัวอย่างเช่น, ท่านสามารถที่จะเซ็ตอัพเครื่องคอมพิวเตอร์ VAIO ของท่านเป็น DLNA server และเปิด เพลง, วิดีโอ และรูปถ่ายต่าง ๆ ที่บนเครื่องทีวีของท่าน . Sony ได้ผลิตอุปกรณ์ที่ได้รับการรับรองจาก DLNA ออกมามากมายเช่น เครื่องเล่น Blu-ray Disc , เครื่องรับโทรทัศน์, เครื่องคอมพิวเตอร์, โทรศัพท์สมาร์ทโฟนของ Sony , เครื่องแทปเล็ตและอื่น ๆ อีกมากมาย


อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้งานร่วมกันได้กับ DLNA สามารถที่จะเชื่อมต่อกับเครือข่ายในบ้านได้เหมือนกันกับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์สมาร์ทโฟน. เมื่อทำการเชื่อมต่อได้แล้ว, ท่านสามารถจะเลือกดูโฟล์เดอร์ที่เลือกไว้ในเครื่องพีซีที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ของมีเดียของท่าน จากบนหน้าจอทีวีได้เลย และเลือกเพลงเพื่อเปิดฟัง หรือดูรูปถ่าย และวิดีโอต่างๆ เพื่อเปิดดูได้

แอพพลิเคชั่นสำหรับแบ่งปันไฟล์เช่น Windows Media Player, ซอฟต์แวร์ VAIO Media server , Serviio  DLNA Media server, Twonky suite หรือ EyeConnect UPnP AV Media Streaming Software จะทำการเชื่อมต่อให้ระหว่าง ทีวี และเครื่องคอมพิวเตอร์

ไฟล์เพลงต่าง ๆ จะมีการแสดงตาม ชื่อเพลง ชื่อศิลปิน วันที่ออก และรูปศิลป์ของหน้าปก, ในขณะที่รูปถ่ายจะแสดงเป็นรูปตัวอย่างขนาดเล็ก(thumbnails)เพื่อที่จะช่วยให้การเลือกทำได้อย่างรวดเร็ว. ส่วนวิดีโอต่าง ๆ จะทำการแสดงตามชื่อไฟล์ . ท่านเพียงทำการเลื่อนไปยังไฟล์เพลง วิดีโอ หรือรูปถ่ายที่ต้องการ แล้วทำการคลิกเพื่อรับฟังหรือรับชมได้เลย


หมายเหตุ: ไม่ได้มีอุปกรณ์ของโซนี่ครบทั้งหมดที่จะใช้งานร่วมกันได้กับ DLNA. ให้ตรวจเช็คดูรายละเอียดจำเพาะต่าง ๆ หรือคู่มือการใช้งานของอุปกรณ์ของท่านสำหรับรายละเอียดการใช้งานร่วมกันได้กับ DLNA นี้

วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

IPv4 และ IPv6 คืออะไร

IPv4 และ IPv6 คืออะไร


เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต คงจะเคยเห็นตัวเลขแปลกๆ เช่น 127.0.0.1 หรือ 192.168.1.1 หรือจำนวนอื่นๆ ตัวเลขเหล่านี้คืออะไรกัน
ตัวเลขเหล่านี้คือหมายเลข IP ประจำเครื่องครับ โดย IP ก็ย่อมาจากคำว่า Internet Protocol หน้าที่ของเจ้าเลขพวกนี้ก็คือ เป็นหลายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่าย เป็นหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ในกรณีที่เราเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น โทรศัพท์มือถือทุกเครื่องก็จะมีเลขหมายหรือเบอร์โทรศัพท์เพื่อบอกว่าถ้าจะติดต่อเครื่องนี้ให้โทรมาที่เบอร์นี้นะ เช่นเดียวกันครับ คอมพิวเตอร์ก็มีเลขหมายหรือพูดง่ายก็คือชื่อมันนั่นเอง เพือให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆ บนระบบเครือข่ายรู้จักกัน
จากหมายเลข IP ที่ยกตัวอย่างไปด้านบน เราเรียกว่า IPv4 ครับ โดยจะเป็นหมายเลขที่มีทั้งหมด 32 บิต (แต่ละช่วงเว้นวรรคด้วย . ) แบ่งเป็นช่วงละ 8 บิต โดยตัวเลข 8 นี้ก็จะมีค่าตั้งแต่ 0 – 255 ครับ ดังนั้น IPv4 จึงมีหมายเลขได้ตั่งแต่ 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255 แต่ก็ใช่ว่าทุกตัวจะใช้ได้หมดนะครับ เพราะจะมีบางหมายเลขที่ถูกเก็บไว้ใช้งานเฉพาะ
IPv4 ทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็น Class ชนิดต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ในการใช้งานที่ต่างกันไป ดังนี้ครับ

  1. คลาส A เริ่มตั้งแต่ 1.0.0.1 ถึง 127.255.255.254
  1. คลาส B เริ่มตั้งแต่ 128.0.0.1 ถึง 191.255.255.254
  1. คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.0.1.1 ถึง 223.255.254.254
  1. คลาส D เริ่มตั้งแต่ 224.0.0.0 ถึง 239.255.255.255 ใช้สำหรับงาน multicast
  1. คลาส E เริ่มตั้งแต่ 240.0.0.0 ถึง 255.255.255.254 ถูกสำรองไว้ ยังไม่มีการใช้งาน
สำหรับไอพีในช่วง 127.0.0.0 ถึง 127.255.255.255 ใช้สำหรับการทดสอบระบบ
แต่หมายเลข IP ด้านบนนี้ก็ยังถูกแบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภทคือ IP ส่วนตัว (Private IP) และ IP สาธารณะ (Publish IP)
โดย IP ส่วนตัวมีไว้สำหรับใช้งานภายในองค์กรเท่านั้น ได้แก่
  1. ไอพีส่วนตัว คลาส A เริ่มตั้งแต่ 10.0.0.0 ถึง 10.255.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.0.0.0 ขึ้นไป
  1. ไอพีส่วนตัว คลาส B เริ่มตั้งแต่ 172.16.0.0 ถึง 172.31.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.240.0.0 ขึ้นไป
  1. ไอพีส่วนตัว คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.168.0.0 ถึง 192.168.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.255.0.0 ขึ้นไป
ไอพีส่วนตัวข้างต้นถูกกำหนดให้ไม่สามารถนำไปใช้งานในเครือข่ายสาธารณะ (Internet)
ส่วน IP สาธารณะมีไว้สำหรับให้แต่ละองค์กร หรือแต่ละบุคคลใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายเข้าหากัน
จากช่วงของ IPv4 ตั้งแต่ 1.1.1.1 ถึง 255.255.255.255 ถ้าคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องใช้หนึ่งหมายเลข เช่น เครื่องผมใช้ 1.1.1.1 เครื่องที่สองใช้ 1.1.1.2 เราก็จะประมาณได้ว่าเราจะมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงอยู่ในระบบเครือข่ายได้ทั้งหมดประมาณ 232 เครื่องครับ ซึ่งเป็นตัวเลขที่เยอะมาก แต่ก็ยังเยอะไม่พอ เพราะว่า IPv4 ที่แจกจ่ายให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกได้กำลังจะหมดลงไปแล้ว
แล้วเราจะทำอย่างไรดี ถ้าเราซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาแล้วไม่มี IP ให้เราใช้ล่ะ วิธีการที่นักคอมพิวเตอร์แก้ไขก็คือการกำหนดหมายเลข IP ใหม่ขึ้นมาครับ โดย IP ใหม่นี้ถูกเรียกว่า IPv6 (Internet Protocol version 6) ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลน IP โดย IPv6 นี้ใช้ระบบเลข 128 บิต ดังนั้นจึงมีจำนวน IP ได้มากสุดถึง 2128 หมายเลขครับ เยอะมากที่จะพอให้มนุษย์บนโลกนี้ใช้ได้ไปอีกนานเลยทีเดียว
ตัวอย่าง IPv6 ก็จะกำหนดในลักษณะดังนี้ครับ 2001:0db8:85a3:0000:0000:8a2e:0370:7334